วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

"มารู้จักโปรแกรม Google SketchUp กันเถอะ"


ก่อนจะเริ่มการใช้งาน Google SketchUp เราควรที่จะรู้จักกับ Interface ของ Google SketchUp เมื่อเข้าสูโปรแกรมจะพบกับหน้าต่างออกแบบละส่วนของแถบเครื่องมือต่างๆ แยกเป็นส่วนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานโปรแกรม ซึ่งส่วนต่างๆเราจะสามารถตั้งค่าต่างๆก่อนเริ่มใช้งานโปรแกรม เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่ามาตราส่วนหน่วยวัด การตั้งค่าคีย์ลัด รวมไปถึงพื้นที่การทำงาน

แถบเครื่องมือ Google SketchUp 

  • การปรับแต่ง Toolbar Google SketchUp

เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Google SketchUp จะปรากฏแถบเครื่องมือ ชุด Getting Started เป็นเครื่องมือเริ่มต้นของ Google SketchUp ดังภาพ



  • การเคลื่อนย้ายตำแหน่งของ Toolbar 
เราสามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งของเครื่องมือได้มีอิสระ ไม่ว่าจะเป็นด้านข้าง ด้านบนและด้านล่าง หรือวางในตำแหน่งพื้นที่การสร้างโมเดลได้ โดยคลิกที่ขอบของแถบเครื่องมือแล้วลากวางในตำแหน่งที่เราต้องการ ทั้งนี้ยังสามารถปรับขนาดของแถบเครื่องมือได้โดยการลากตรงขอบด้านบนของแถบ Toorbar
  • การเพิ่มแถบเครื่องมือ

แถบเครื่องมือของ Google sketchUp สามารถเพิ่มเติมหรือเรียกใช้ได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและสามารถเรียกใช้เครื่องมือได้อย่างสะดวก โดยเราสามารถเรียกใช้แถบเครื่องมือได้ดังนี้
        ไปที่ เมนู View ----> Toolbar ----> แล้วคลิกเลือกเมนูที่ต้องการ ในตัวอย่างจะเลือก Toolbar ของ Camera จะได้ผลดังภาพ

  • การบันทึกตำแหน่งชุดเครื่องมือ
เมื่อเราเลือกวางตำแหน่งของชุดเครื่องมือตามที่เราต้องการแล้ว เราสามารถบันทึกตำแหน่งชุดเครื่องมือได้โดย ไปที่ เมนู View ---> Toolbar--->Save Toolbar Positions ดังภาพ
เมื่อเราขยับชุดเครื่องมือเพื่อทำงาน แล้วต้องการให้เครื่องมือย้ายกลับไปตำแหน่งที่เรา Save ให้เราไปที่ เมนู View ---> Toolbar ---> Restore Toolbar Positions ดังภาพ
ภาพก่อน Restore Toolbar Positions
ภาพหลัง Restore Toolbar Positions 
หลังจากใช้คำสั่ง Restore Toolbar Positions เครื่องมือจะกลับคืนตำแหน่งที่เราทำการ Save Positions ไว้

การควบคุมมุมมอง Google SketchUp

การควบคุมมุมมองด้วยเม้าส์และคีย์บอร์ด

         เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวก และรวดเร็ว เรายังสามารถที่จะควบคุมมุมมองในขณะทำงานด้วยเครื่องมือต่างๆได้ด้วยการใช้ เม้าส์ร่วมกับคีย์บอร์ด โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้



การปรับหมุนมุมมอง       คลิกที่ลูกกลิ้งของเม้าส์ เครื่องมือจะถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือ Orbit ชั่วคราว
การเลื่อนมุมมอง            คลิกที่ลูกกลิ้งของเม้าส์พร้อมกดคีย์ Shift เครื่องมือจะถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือ  
                                   Pan ชั่วคราว
การย่อ / ขยาย              หมุนลูกกลิ้งไปข้างหน้าจะเป็นการขยาย หมุนมาด้านหลังจะเป็นการย่อ

         ในขณะที่เลือกเครื่องมือ Orbit, Pan และ Zoom สามารถที่จะคลิกเม้าส์ปุ่มขวาเพื่อเรียกแสดงเมนูคำสั่ง สำหรับการควบคุมมุมมองได้อีกด้วย

Tip : ในขณะที่ใช้เครื่องมือ Orbit, Pan, Look, Around, Walk หรือ Zoom การกำหนดปุ่ม ESC หรือ คลิกขวาเลือกคำสั่ง Exit เครื่องมือจะถูกเปลี่ยนไปเป็นเครื่องมือก่อนหน้าที่ถูกเลือกใช้งาน




หมายเหตุ : ในกรณีที่ใช้เครื่องมือใดๆอยู่ แล้วทำการเปลี่ยนเครื่องมือเป็น Orbit หรือ Pan ชั่วคราว ซึ่งขณะนั้นจะมีการคลิกเม้าส์ปุ่มกลางอยู่ก็ให้คลิกเม้าส์ปุ่มขวาเพื่อเรียก แสดงเมนูได้ โดยจะต้องไม่ปล่อยเม้าส์ปุ่มกลาง




แกนอ้างอิง Google SketchUp

การอ้างอิงทิศทางด้วยแกนอ้างอิง (Axes)
          การวาดเส้นใน Google SketchUp จะมีการอ้างอิงทิศทางตามแกนอ้างอิง (Axes) ทั้ง แกนเพื่อให้การสร้างเส้นในทิศทางต่างๆ มีความถูกต้องและแม่นยำ โดยถ้าวาดเส้นขนานไปตามแกน เส้นที่กำลังวาดอยู่จะแสดงเป็นสีแดง หรือถ้าวาดเส้นขนานไป ตามแกน เส้นที่กำลังวาดอยู่จะแสดงเป็นสีเขียว

 แกน X
 แกน Y

การย้ายตำแหน่งแกนอ้างอิง
          เราสามารถที่จะย้ายตำแหน่งของแกนอ้างอิงและปรับหมุนไปในทิศทางต่างๆ ได้เพื่อใช้
อ้างอิงการสร้างเส้นหรือรูปทรงในทิศทางที่ต้องการ สามารถทำได้โดยเลือกไอคอน    หรือเลือกจากเมนู Tools --- > Axes หรือจะใช้วิธีคลิกขวาที่แกนอ้างอิงแล้วเลือกคำสั่ง Place ก็ได้เช่นกัน


          นอกจากนี้เรายังสามารถย้ายแกนอ้างอิงไปยังตำแหน่งใดๆ โดยการกำหนดตำแหน่งและทิศทางที่แน่นอนลงไป สามารถทำได้โดยคลิกขวาที่แกนอ้างอิงแล้วเลือกคำสั่ง Move จะปรากฏหน้าต่าง Move Sketching Context ขึ้นมา โดยจะมีตัวเลือกให้กำหนดค่าทั้งในส่วนของการกำหนดตำแหน่งและการกำหนดองศาของแกนทั้ง แกน
การอ้างอิงตำแหน่งด้วย Inference
          Inference เป็นอีกความสามารถของ Google SketchUp ที่จะช่วยให้การสร้างชิ้นงานในตำแหน่งและทิศทางต่างๆ สามารถกระทำได้ง่ายขึ้น โดย Inference จะแสดงอยู่ในรูปแบบของสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น จุดสี เส้นทึบ เส้นประสีต่างๆ พร้อมแสดงข้อความที่จะช่วยให้เรารู้ว่าขณะนั้นกำลังทำงานอยู่ที่ตำแหน่งไหน และอ้างอิงอยู่กับแกนใด
            Inference เป็นแบบจุด (Point Inference) จะปรากฏให้เห็นตามแนวเส้นและพื้นผิวของชิ้นงานพร้อมข้อความกำกับ โดยรูปแบบของจุด สี และข้อความจะแสดงผลแตกต่างกันออกไป
Inference แบบเส้น (Line Inference)
          จะปรากฏให้เห็นขณะมีการวาดเส้นไปยังทิศทางต่างๆ ที่อ้างอิงจากแกนอ้างอิงหรือเส้นตรงบนชิ้นงาน โดย Inference แบบเส้นจะแสดงให้เห็นด้วยเส้นที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป พร้อมแสดงข้อความกำกับ โดยรูปแบบของเส้น สี และข้อความจะแสดงผลแตกต่างกันออกไป


 Inference บนพื้นระนาบ (Planar Inference)
          เป็น Inference ที่จะช่วยให้การสร้างเส้นหรือรูปทรงต่างๆ บนพื้นผิวระนาบได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะหมายถึงการทำงานบนพื้นผิวที่มีความคลาดเอียงในทิศทางต่างๆ รวมไปถึงตำแหน่งที่เป็นพื้นดินบนพื้นผิวการทำงานด้วย

การแบ่งเส้นตรงออกเป็นส่วนๆ ด้วยคำสั่่ง Divide
          เรา สามารถแบ่งเส้นตรงออกเป็นส่วนๆที่เท่ากันได้โดยการคลิกขวาที่เส้นที่ต้องการ แบ่ง แล้วเลือกคำสั่ง Divide แล้วเลื่อนเม้าส์เพื่อกำหนดจำนวนการแบ่งเส้น หรือกำหนดในช่อง Segments ก็ได้เช่นกัน
ดังภาพ

องค์ประกอบของวัตถุใน Google SketchUp

องค์ประกอบของวัตถุใน Google SketchUp
          วัตถุหรือรูปทรงใน Google sketchUp  จะปรากฏไปด้วยเส้นและพื้นผิวเป็นหลัก โดยพื้นผิวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการบรรจบกันของเส้นตั้งแต่ เส้นขึ้นไป ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เราวาดเส้นมาบรรจบกันในระนาบเดียวกันก็จะเกิดพื้นผิวขึ้นภายในขอบเขตของเส้นเหล่านั้น และในส่วนของพื้นผิวเองจะมีด้วยกันอยู่ ด้านคือ พื้นผิวด้านนอกและพื้นผิวด้านใน ดังภาพ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น