วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยจังหวัดลำปาง

 




ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งเกวียน ต.เวียงตาล อยู่ในความดูแลของฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ 
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) แต่เดิม ออป. เป็นศูนย์ฝึกลูกช้างซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลก โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างเพื่อให้เชื่อฟังคำสั่งและมีความชำนาญในการทำไม้ขณะที่แม่ช้างไปทำงานในป่า และเนื่องจากมีนโยบายปิดป่าซึ่งทำให้ช้างต้องว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกปรับมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย และที่นี่ยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลช้างด้วย ออป.จึงได้ก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 และจัดกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวได้แก่

การแสดงของช้าง ซึ่งยังคงอนุรักษ์ศิลปะการทำไม้ซึ่งใช้ช้างเป็นพาหนะ และแรงงานที่สำคัญ ในการชัก            ลากไม้ที่ได้จัดแสดงให้นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างประเทศได้ชม เวลาในการแสดง
       วันจันทร์ - ศุกร์ มีการแสดง 2 รอบ ในเวลา 10.00 น . และ 11.00 น .
       วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดต่างๆ จะเพิ่มรอบการแสดงในเวลา 13.30 น .


นั่งช้างรอบบริเวณซึ่งเป็นสวนป่า ธรรมชาติยังมีสิ่งดีๆ ที่คอยให้กำลังใจกับเราทุกเมื่อ บางครั้งเราอาจจะสับสนวุ่นวาย เครียดหนักกับการทำงานทั้งวัน ทั้งสัปดาห์ลองหลบความวุ้นวายเหล่านั้น ไปท่องเที่ยวกับธรรมชาติ โดยเฉาะกับการขี่ช้างชมธรรมชาติ ท่านจะรู้สึกถึงความแปลกใหม่ในชีวิต เป็นรางวัลจากความเหน็ดเหนื่อยที่จะทำให้ท่านลืมงานที่ออฟฟิคไปอีกหลายวันเชียวแหละ การนั่งช้างให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00 - 15.30 น .


 การแสดงของลูกช้างทุกวันวันละ 3 รอบคือ 09.30 น., 11.00 น. และ14.00 น. ช้างแท็กซี่ หรือบริการนั่งช้างชมธรรมชาติรอบๆ ศูนย์มีทุกวัน เวลา 08.00-15.30 น
โฮมสเตย์ (Homestay) ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสบรรยากาศธรรมชาติ เรียนรู้วิถีชีวิตที่ผูกพันระหว่างช้างกับคนเลี้ยงช้างอย่างใกล้ชิด บริการอาหารเครื่องดื่มและร้านขายของที่ระลึก ค่าเข้าชมสำหรับ ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการได้หลายเส้นทาง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 
โทร. 054-247871-6




    ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Tourism Awards) ประเภทรางวัลดีเด่นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ พ.ศ.2541 ปัจจุบันศูนย์ฯมีโครงการ โรงเรียนฝึกควาญช้าง เพื่อฝึกควาญหรือผู้ที่ประสงค์จะเป็นควาญให้สามารถดูแลช้างได้อย่างถูกต้อง มีชาวต่างชาติให้ความสนใจมาสมัครเป็นนักเรียนหลายคน นอกจากเรื่องท่องเที่ยวแล้วยังมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ พลังงานที่ใช้ภายในศูนย์ฯ มาจากพลังงานทดแทนในโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ มีก๊าซชีวภาพจากมูลช้างใช้ในการหุงต้ม และกระแสไฟฟ้าผลิตจากเซลล์แสงอาทิตย์

6


    สวนป่าทุ่งเกวียน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวลำปาง มีป่าสนเมืองหนาวและพันธุ์ไม้นานาชนิด ทั้งไม้ดอก ไม้ใบที่มีสีสันสวยงาม อีกทั้งไม้จำพวกตะบองเพชร และปาล์ม ตลอดจนพืชสมุนไพรต่างๆ นักท่องเที่ยวสามารถแค้มปิ้งที่นี่ได้ ช่วงที่สวยที่สุดเหมาะแก่การพักแรมคือเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกบัวตองกำลังบาน เนื่องจากจังหวัดลำปางมีพื้นที่เป็นแอ่งกะทะจึงมีอากาศที่ร้อนกว่าแม่ฮ่องสอน ดอกบัวตองที่ลำปางจึงบานเร็วกว่าที่ดอยแม่อูคอประมาณ 15 วัน
ประมาณเดือนตุลาคมมีการจัดกิจกรรมทุ่งเกวียนเมาเท่นไบค์ และเดือนธันวาคมของทุกปี จะมีการจัดงาน “ดอกไม้บานวันพบช้าง”


ที่มาข้อมูล
 http://www.lampang.go.th/travel/weblp/page/page10.html

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุง





ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cymbopogon nardus Rendle


                ชื่อสามัญ :   Citronella grass


                 วงศ์ :   GRAMINEAE


                 ชื่ออื่น :  จะไคมะขูด ตะไครมะขูด (ภาคเหนือ) ตะไคร้แดง (นครศรีธรรมราช)


                 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร แตกเป็นกอ เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบของตะไคร้หอมมีสีเขียวปนม่วงแดง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องไว้แน่น  ใบ เดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม  (ตะไคร้หอมใบยาวและนิ่มกว่าตะไคร้ธรรมดาเล็กน้อย ทำให้ปลายห้อยลงปรกดินกว่า)  ดอก ช่อ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ออกดอกยาก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก

ส่วนที่ใช้ :  ต้น ใบสด น้ำมันของต้นตะไคร้หอม

           สรรพคุณ :

    น้ำมันสกัดตะไคร้หอม
     -  ปรุงกับน้ำหอมทาตัวป้องกันยุงกัด
     -  ใส่กระบอกสูบผสมกับน้ำมันอื่นฉีดไล่ยุงได้ดีมาก ทั้งต้น
     -ใช้ตะไคร้หอม 4-5 ต้น นำมาทั้งต้น ทุบๆ วางทิ้งไว้ในห้องมืดๆ กลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา ยุง แมลงจะหนีหมด

          ประโยชน์ทางยา

    แก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหงเป็นแผลในปาก)
      ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้แน่นได้ด้วย
      สตรีมีครรภ์รับประทานให้ตกลูกหรือทำลายโลหิตให้ด้วย (ทำให้แท้ง) คือมีอำนาจในทางบีบรัดมดลูกได้ดีด้วย

          วิธีใช้ : นำน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมทาตามตัว ไล่แมลง ยุง

  สารเคมี น้ำมันหอมระเหย มี 0.4-0.9% ประกอบด้วยgeraniol 57.6-61.1%  Citronellal  7.7-14.2%            l. 
  
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ 


1. ฤทธิ์ไล่ยุงและแมลง

น้ำมันตะไคร้หอม (Citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่แมลงได้ ครีมที่มีน้ำมันจากใบตะไคร้หอม ความเข้มข้น 1.25, 2.5 และ 5% มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัด เมื่อทดสอบกับยุงก้นปล่อง โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นาน ชม. และที่ความเข้มข้น 10% จะมีระยะเวลาในการป้องกันได้มากกว่า ชม. ตำรับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันข่า 5% น้ำมันตะไคร้หอม 2.5% และวานิลลิน 0.5% จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดได้เช่นกัน โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นานกว่า ชม. (2, 3) และเมื่อทดสอบกับยุงรำคาญ พบว่าตำรับครีมผสม สามารถป้องกันยุงกัดได้ดีกว่าครีมที่ไม่มีน้ำมันหอมระเหย เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม มาทดสอบกับยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และเท้าช้าง พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 8-10 ชม. และในการทดสอบกับยุงลาย พบว่าความเข้มข้นที่ผลในการป้องกันยุงได้ร้อยละ 50 (EC50)และร้อยละ 95 (EC95มีค่าเท่ากับ 0.031 และ 5.259% ตามลำดับ และน้ำมันหอมระเหย ความเข้มข้น 1%สามารถป้องกันยุงกัดได้ 75.19% สารสกัด 90% เอทานอลจากตะไคร้หอม และสารสกัดตะไคร้หอมที่ผสมกับน้ำมันมะกอกและน้ำมันหอมระเหยกลิ่นชะมดเช็ด เมื่อนำมาทดสอบกับยุงลายและยุงรำคาญตัวเมีย จะมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้นาน โดยมีค่าเฉลี่ยช่วงเวลาอยู่ที่ 114-126 นาที นอกจากนี้ยังมีผลในการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงได้ด้วย น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม ความเข้มข้น 10% มีฤทธิ์ดีในการไล่ตัวอ่อนของเห็บ โดยให้ผลในการไล่ได้นานถึง ชม. นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไล่แมลงที่จะมาทำลายเมล็ดข้าวที่เก็บไว้ได้ โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของข้าว ตะไคร้หอมยังมีฤทธิ์ไล่ผีเสื้อกลางคืน และพวกแมลงบินต่างๆ ได้

2. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ไล่ยุง
น้ำมันตะไคร้หอมมีส่วนประกอบที่สำคัญในการออกฤทธิ์ คือ camphor (11, 12), cineol (13-15), eugenol (16-19), linalool (20), citronellal, citral (17)

3. การทดลองทางคลินิกใช้ในการไล่ยุง
มีการศึกษาผลของครีมที่มีส่วนผสมน้ำมันหอมระเหย 14% ในการทาป้องกันยุงรำคาญกับอาสาสมัคร 40คน เปรียบเทียบกับครีมที่ไม่มีตัวยา พบว่าสามารถป้องกันยุงได้ 13 คน ในอาสาสมัครที่ทาครีม 20 คน ขณะที่อาสาสมัครที่ทาครีมที่ไม่มีตัวยา จะไม่สามารถป้องกันยุงได้ (21)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทดลองประสิทธิภาพป้องกันยุงกัดของครีมตะไคร้หอม 14% พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน ชม. ซึ่งใกล้เคียงกับครีมจากสารสังเคราะห์ (dimethyl phthatate 20% + diethyl toluamide 5%) (22)

4. ฤทธิ์ฆ่าแมลง
น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม เมื่อนำมารมเมล็ดถั่ว นาน 72 ชม. มีผลฆ่าแมลงCallosobruchus maculatus ที่จะมาทำลายเมล็ดถั่วได้ น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยไม่มีผลต่อการงอกของถั่ว (23) แต่มีผลต่อ parasiteของแมลงชนิดนี้มากกว่า (24) สารสกัดตะไคร้หอมผสมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดา และข่า ในอัตรา 200 มล./น้ำ20 ลิตร มีผลลดการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนและหนอนเจาะฝักซึ่งเป็นแมลงศัตรูถั่วฝักยาวได้ แต่ไม่สามารถควบคุมการเข้าทำลายของแมลงวันเจาะต้นถั่ว (25) สารสกัดตะไคร้หอม ความเข้มข้น 100 ppm จะให้ผลน้อยมากในการควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำ (26) แต่จะมีผลทำให้ไรแดงกุหลาบตายร้อยละ 95 ภายใน 20.70 ชม. (27)นอกจากนี้สารสกัด10% เอทานอล (ต้นตะไคร้หอมแห้ง 200 ก./ลิตร) จะให้ผลดีในการลดปริมาณของหมัดกระโดดซึ่งเป็นแมลงศัตรูคะน้า แต่มีแนวโน้มที่จะทำให้น้ำหนักของคะน้าลดลง (28) แชมพูที่ส่วนผสมของสารสกัดตะไคร้หอม สามารถฆ่าเห็บ หมัดในสัตว์เลี้ยงได้ (29)

5. การทดสอบความเป็นพิษ
เมื่อฉีดสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ (1:1) จากต้น ขนาด กรัม/กิโลกรัม เข้าทางช่องท้องหนูถีบจักร ไม่พบความเป็นพิษ (30)

ที่มา : http://www.google.co.th/search?
          http://samonpri.blogspot.com/2011/09/blog-post_04.html

บทที่ 1     
บทนำ
   1.1   ที่มาและความสำคัญ
   ปัจจุบันมีสินค้า ที่เป็นผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นจำนวนมาก โดยผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ในการไล่ยุงแต่ไม่สามารถฆ่ายุงได้ออกฤทธิ์โดยไปรบกวนกลไกการรับรู้กลิ่นของยุง นิยมใช้ในรูปแบบทา หรือฉีดพ่นผิวหนัง โดยสารสำคัญที่พบบ่อย ได้แก่ ดีท (DEET) และน้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีดีท (DEET) เป็นสารออกฤทธิ์ในการไล่ยุงนั้น จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ต้องได้รับการขึ้นทะเบียน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และมีการแสดงเลขทะเบียน อย.วอส.โดยในกรอบเครื่องหมายประกอบด้วยอักษรย่อวอส.(วัตถุอันตรายที่ใช้ในทางสาธารณสุข) ตามด้วย เลขทะเบียนทับปี พ.ศ.บนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน
  ยุง เป็นพาหะนะนำโรคหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โรคเท้าช้าง เป็นต้น จึงมีผู้คิดทำตัวยาเพื่อกำจัดและป้องกันยุงขึ้นมาหลายชนิดเช่น ครีมทากันยุง ยาจุดกันยุง ยาฉีดกันยุง น้ำมันไล่ยุง เป็นต้น และผู้คนส่วนใหญ่ มักไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง และครอบครัว จึงมักจะซื้อสารเคมีชนิดนี้ เพื่อความสะดวกสบาย และง่ายต่อการใช้งาน แต่สารเคมีชนิดนี้ ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย  เช่น สมาชิกครอบครัวที่อยู่บริเวณนั้นอาจได้รับอันตรายได้เนื่องจากสารเคมีที่ผสมอยู่ในยาจุดกันยุงจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาท และหากสูดดมเข้าไปมากๆ จะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบได้ ยาฉีดกันยุง ประกอบด้วยสารเคมีกำจัดแมลง 1-4 ชนิด น้ำมันก๊าด และแก๊ส บรรจุในกระป๋องโลหะทรงกระบอกมีปุ่มกดให้สารออกมาเป็นละอองฝอย
  ดังนั้น ผู้จัดทำโครงงานได้พบว่ามีชาวบ้านในท้องถิ่นได้นำใบตะไคร้หอมทำเป็นแล้ววางไว้ใกล้ตัว พบว่าสามารถไล่ยุงได้ ผู้จัดทำจึงได้ทำเทียนหอมตะไคร้ไล่ยุงขึ้น เพื่อลดอาการแพ้สารเคมี และไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนังและยังป้องกันยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคได้อีกด้วย
        1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1เพื่อศึกษาว่าเทียนตะไคร้หอมสามารถไล่ยุงได้จริงหรือไม่
1.2.2 เป็นการนำตะไคร้หอมที่มีในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้
1.2.3 เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
1.2.4 ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเทียนตะไคร้หอม และบรรจุภัณฑ์

         1.3. ขอบเขตของการศึกษา

1. ตะไคร้สามารถไล่ยุงได้
2. เทียนหอมตะไคร้ไล่ยุงไม่ทำให้ผู้ใช้เกิดอาการแพ้
3. เทียนหอมสมุนไพรที่ผลิตขึ้นได้น่าจะมีกลิ่นของสมุนไพรซึ่งได้แก่ตะไคร้หอมให้กลิ่นที่หอมสดชื่น

1.4.สมมติฐาน

1.1.1 เทียนตะไคร้หอม สูตรที่ 1 สามารถไล่ยุงได้ในระยะที่ไกลกว่า สูตรที่ 2
1.1.2 เทียนตะไคร้หอม สูตรที่ 2 สามารถไล่ยุงได้ในระยะที่ไกลกว่า สูตรที่ 1

1.5 ตัวแปร

ตัวแปรต้น       ปริมาณของน้ำตะไคร้หอม
 ตัวแปรตาม     ผลของการออกฤทธิ์ไล่ยุง
ตัวแปรควบคุม   พาราฟิน 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
                   S.A. 1 ช้อนชา
                   P.E. 1 ช้อนชา

1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ
ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้คือ ไม่ระคายเคืองผิวหนัง และไม่เป็นผื่นคัน เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มีขึ้นเองตามธรรมชาติ และมีกลิ่นหอม

บทที่ 2

เอกสารและหน่วยงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1. พาราฟิน

    พาราฟิน หรือ เคโรซีน เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมซึ่งกลั่นแยกออกจากน้ำมันดิบ จุดหลอมเหลวประมาณ 47-64 องศาเซลเซียส จุดเดือดประมาณ 150-275 องศาเซลเซียส ไม่ละลายในน้ำ สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมายเเละมีหลายสถานะด้วยกัน
2.ตะไคร้
    ตะไคร้ (Lemongrass) ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.)  เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต  มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วยในส่วนของสรรพคุณใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมากๆ

 บทที่ 3
อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
การดำเนินการจัดทำโครงงานในครั้งนี้ คณะผู้จัดทำได้ดำเนินการดังนี้
3.1     วัสดุ-อุปกรณ์และสารเคมี
1. พาราฟิน  
2. ใบตะไคร้ตากแห้ง  
3. Stearic Acid    (S.A.)
4. Polyester Esterin  (P.E.)
5. ไส้เทียน 
6. สีเทียน  
7. หม้อ  
8. ทัพพี  
9. แม่พิมพ์  
10. มีด  
11. เขียง
12. อุปกรณ์ตกแต่ง
13. ผ้าขาวบาง


วิธีการทำการทดลอง


เตรียมอุปกรณ์







นำตะไคร้ไปตาก







หั่นตะไคร้ตากแห้งเป็นชิ้นเล็กๆ



นำใบตะไคร้ตากแห้งไปต้มในน้ำเดือด




กรองตะไคร้ด้วยผ้าขาวบาง




หั่นพาราฟินเป็นชิ้นเล็กๆ



นำพาราฟินที่หั่นแล้วใส่ลงไปในหม้อ ตั้งไฟปานกลาง เกี่ยวจนกลายเป็นของเหลว



 ใส่ S.A. และ P.E. ลงไปอย่างละประมาณ 1 ช้อนชา เสร็จแล้วใส่สีเทียนลงไปพอประมาณ แล้วตามด้วยน้ำตะไคร้หอม




นำพาราฟินที่ละลายแล้วใส่ลงไปในแม่พิมพ์ แล้วใส่ไส้เทียนลงไป ในบรรจุภัณฑ์





3.2.2 วิธีการทดสอบการไล่ยุงของเทียนตะไคร้หอม
          ให้คณะผู้จัดทำ นั่งล้อมรอบเทียนตะไคร้หอม ตามระยะทางที่กำหนด และ บันทึกว่า ระยะทางเท่าใดที่มีผู้ที่โดนยุงกัด


    บทที่ 4
ผลการทดลอง
ตารางแสดงผลการทดสอบการออกฤทธิ์ของเทียนตะไคร้หอม
         
จำนวนคนทั้งหมด
ระยะทางที่ทำการทดลอง
จำนวนคนที่โดนยุงกัด
สูตรที่1
สูตรที่2
6
1
0
0
6
2
1
0
6
3
2
0
6
4
4
2
6
5
6
3
6
6
6
4


บทที่ 5
สรุป อภิปราย และนำเสนอข้อมูล
          สูตรที่ออกฤทธิ์ไล่ยุงได้ ในระยะที่ไกลที่สุด คือสูตรที่ 2 มี น้ำตะไคร้หอมอยู่ 500 มิลลิลิตร ออกฤทธิ์ไล่ยุงได้ระยะไกลที่สุด 3 เมตร เพราะ มีน้ำตะไคร้หอมผสมอยู่ ในปริมาณที่มากกว่า สูตรที่ 1 โดย สูตรที่ 1 มีน้ำตะไคร้หอมผสมอยู่ 250 มิลลิลิตร จึงออกฤทธิ์ได้น้อยกว่า                             
เอกสารอ้างอิง
Click2charm Service. สืบค้นประโยชน์ของตะไคร้หอม. [ออนไลน์] . เข้าถึงได้จาก
           http://www.lib.nu.ac.th.  (วันที่สืบค้น ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๗).
 Lemokung. สืบค้นวิธีการ และอุปกรณ์ในการทำเทียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก  
          http://lemokung.exteen.com. (วันที่สืบค้น ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๗).
ช่างหล่อเทียน. สืบค้นวิธีการและขั้นตอนในการทำเทียน อย่างง่าย.[ออนไลน์] . เข้าถึงได้จาก
          http://www.oknation.net. (วันที่สืบค้น ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๗).